07 พฤษภาคม 2551

ยินดีต้อนรับ

สวัสดีครับ
...
ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เข้ามาเยือน Blog ของกลุ่ม Thai Question กลุ่มรณรงค์เพื่อเสรีภาพทางการเรียนรู้
...
Blog นี้จะเป็น Dual Page กับ Hi5 ของกลุ่มนะครับ สำหรับที่ Hi 5 มีไว้สำหรับแจ้งข่าวสารและประกาศต่างๆ รวมทั้งเป็นช่องทางสำหรับกลุ่มของพวกเรากับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทั้งหลาย
...
สำหรับ Blog นี้มีไว้สำหรับเผยแพร่บทความและข้อเขียนของกลุ่ม Thai Question รวมถึงบทความพิเศษที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีทรงคุณวุฒิทั้งหลาย
...
พวกเรา Thai Question หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่ (หลงหรือโดนลาก)เข้ามาชม Blog ของเราจะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อยจาก Blog นี้
...
ถ้ามีเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ คนไหนมีข้อสงสัย อยากซักถาม ติติง ติเตียน ดุด่าว่ากล่าว หรือให้ความช่วยเหลือ ให้ความร่วมมือ อยากร่วมเสนอบทความ หรือนอนไม่หลับอยากได้เพื่อนคุย ก็ติดต่อมาที่ thaiquestion@gmail.com ได้เลยนะครับ
...
พวกเรายินดีน้อมรับทุกเมล์เป็นอย่างยิ่ง
...
รัก
...
Thai Question

ละครพันทาง : ละครนานาชาติ

ประวัติ

ละครพันทางเป็นละครรำที่ได้แบบจากละครนอก เกิดขึ้นในปลายรัชกาลที่ ๔ โดยเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง) ปรับปรุงละครรำของไทยให้มีความแปลกใหม่ ท่านได้อิทธิพลจากละครยุโรปแล้วนำมาปรับปรุงคณะละครของท่านเอง และมีการนำเอาความคิดใหม่แบบยุโรปมาใช้ในวัฒนธรรมการแสดงละครของไทยอีกด้วย

แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ละครพันทางของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงนั้น เกิดขึ้นเมื่อทำหน้าที่เป็นอุปทูตไปประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๔๐๐ ได้มีโอกาสชมการแสดงละครของยุโรป ดังมีปรากฏอยู่ใน จดหมายเหตุ เรื่อง ราชทูตไทยไปประเทศอังกฤษ พ.ศ. ๒๔๐๐ ตอนที่ ๔ ว่าด้วยราชทูตไปจากเมืองปอรด์สมัทถึงเมืองลอนดอนดูการละเล่นต่างๆ ดังนี้

ครั้นเวลาค่ำ มิศเตอร์เฟาล์เชิญให้พวกราชทูตไปดูลคร ละครนั้นเล่นเรื่องอังกฤษรบกับพวกแขก แล้วมีผู้หญิงคนหนึ่งออกมาขี่ม้า แต่แรกนั่งขี่ก่อนแล้วก็ขับให้ม้าห้อวิ่งวนไปในสังเวียน พอม้าห้อเต็มฝีเท้า ผู้หญิงนั้นจึงลุกขึ้นยืนเมื่อกำลังห้อม้ามิได้หยุด [...]

ที่ในเมืองเองแคลนด์มีละครอยู่หลายแห่ง ล้วนวิเศษต่างๆกัน บางเรื่องมีหญิงรูปงามแต่งเปนเทวดาฝรั่งเหาะเลื่อนลอยมาแต่ไม่เห็นสิ่งใดเป็นสายใยยนต์ที่คนจะอาไศรยได้ ดูเลื่อนลอยมาแต่กาย บางทีก็ออกมาจากภูเขา บางทีก็ผุดขึ้นมาจากดิน บรรดาคนที่แต่งเปนเทวดา ล้วนมีรัศมีออกจากกายทั้งนั้น พวกราชทูตดูอยู่ประมาณสองยาม ละครเลิกก็พากันกลับมาที่สำนัก

มีโรงลครใหญ่อย่างดีกว่าสิบแห่ง แต่ลครนั้นไม่ได้ไปเล่นที่อื่นๆเหมือนลครในเมืองนี้เล่นอยู่แต่ในตึกที่ทำไว้สำหรับเล่น จนสองยามจึงเลิก ถ้าคนจะเข้าไปดูก็ต้องเสียเงินให้มากบ้างน้อยบ้างตามที่ดีแลไม่ดี ในตึกโรงลครนั้นทำเปนสี่ชั้นบ้างห้าชั้นบ้าง ถ้าคนมั่งมีก็อยู่ชั้นต่ำ ต้องเสียเงินมาก ด้วยเห็นตัวลครใกล้ สูงขึ้นไปเสียเงินน้อยลง แต่เห็นไกลออกไปทุกชั้นด้วยที่สูง

คณะละครของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงนับได้ว่านำความเปลี่ยนแปลงมาสู่การละครไทย ได้แก่ การตั้งโรงละครสำหรับแสดงประจำและเก็บเงินผู้ชมเป็นครั้งแรก โดยตั้งโรงละครขึ้นชื่อว่า Siamese Theatre แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็น Prince Theatre และในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ในงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๑๐๐ ปี เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ได้นำคณะละครไปร่วมแสดงในงานนิทรรศการกลางสนามหลวง มีการเก็บเงินผู้เข้าชม จากนั้นจึงเริ่มเก็บเงินผู้ชมที่เช้าชมในโรงละคร เดิมเล่นเวลาเดือนหงาย เดือนละ ๑ สัปดาห์ หรือ ๑ วีก (week) ซึ่งคำนี้ต่อมากลายเป็นที่มากของคำว่า วิก โดยความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม แทนที่จะหมายถึง สัปดาห์ กลายมาเป็น โรงแสดง

ละครของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงนั้น ได้เล่นมาบ้างแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ แต่มาตั้งเป็นโรงละครใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เดิมชอบเล่นเรื่องดาหลัง ต่อมาเล่นทั้งละครในและละครนอก กระบวนรำได้นำไปจากแบบละครหลวง และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกลายมาเป็นละครแบบเจ้าพระยามหินทรฯ ได้รับความนิยมจากผู้ชมในสมัยนั้นมากด้วยความแปลกใหม่

ละครของเจ้าพระยามหินทรฯ มีโอกาสแสดงถวายในราชสำนักเนืองๆิม แทนที่จะหมายถึงสัปดาหปลี่ชมในโรงละครบ ๑๐๐ ปีศักดืรแสดงละครของไทย สองประการ โดยเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงได้เป็นผู้ริเริ เช่น งานโสกันต์เจ้านายพระองค์ต่างๆ สมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดให้หาละครข้างนอกเข้ามาเล่น เมื่อเจ้าพระยามหินทรฯถึงแก่กรรม คณะละครมีนายบุศย์เป็นผู้สืบทอดมาระยะหนึ่ง

มีข้อน่าสนใจประการหนึ่ง คือ ก่อนเจ้าพระยามหินทรฯ ถึงแก่กรรมได้สั่งเจ้าจอมมารดามรกฎ (ลูกสาว) ไว้ว่าถ้าพระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ (หลาน) ไม่เล่นละครต่อ ให้นำเครื่องละครไปทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อตั้งแสดงในโรงพิพิธภัณฑ์ ห้ามนำไปขาย ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ เจ้าจอมมารดามรกฎได้นำเครื่องละคร หัวโขนละครของบิดาเข้าถวาย สมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงไม่เห็นด้วยเนื่องจากทรงเห็นพระทัยเจ้าของ เผื่อเจ้าจอมมารดามรกฏตะได้นำไปขายคืนมาบ้าง เพระเครื่องละครนั้นขายได้ราคามาก แต่เจ้ากรมพิพิธภัณฑ์ได้รับไว้ ก่อนทราบพระราชปรารภ เครื่องละครของเจ้าพระยามหินทร์จึงยังคงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติมาจนทุกวันนี้

ลักษณะการแสดง

ลักษณะการแสดงละครพันทางมีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ

๑) โรงและฉาก ในโรงแสดงนั้นมีฉากประกอบการแสดงและเปลี่ยนฉากไปตามเรื่อง มีม่านเพื่อเปิดปิดฉาก คนดูนั่งอยู่หน้าเวที โดยคนดูจะปูเสื่อที่พื้นด้านหน้าเวที ถัดไปเป็นราวไฟสำหรับส่องผู้แสดง

๒) การแต่งกาย การแต่งกายของตัวแสดงใช้เครื่องแต่งกายจากละครระ การแต่งกายเน้นความสมจริงตามลักษณะและสัญชาติของตัวละคร เช่น เรื่องราชาธิราช การแต่งกายมีลักษณะเป็นมอญหรือพม่า เรื่องสามก๊ก การแต่งตัวมีลักษณะเป็นจีน เรื่องลิลิตพระลอ การแต่งกายมีลักษณะเป็นชาวล้านนา เป็นต้น

๓) วิธีการแสดง การรำแสดงใช้ท่ารำมาตรฐานจากละครรำ ผสมการแสดงออกแบบชาวบ้าน มีการนำท่าทางของชาติต่างๆ เข้ามาผสม บางทีจึงเรียกละครแบบนี้เรียกว่า ละครพันทาง การแสดงเน้นการดำเนินเรื่องที่กระชับ การแต่งกายและการตีบทที่สมจริง

๔) ปี่พาทย์ประกอบการแสดง การแสดงละครพันทาง ใช้เครื่องปี่พาทย์ไม้นวม ลักษณะเหมือนวงปี่พาทย์สามัญแต่ใช้ไม้นวมตีและใช้ขลุ่ยแทนปี่ เพลงที่ใช้ประกอบมีทั้งเพลงไทย และเพลงที่ออกสำเนียงชาติต่างๆ เช่น จีน เขมร ลาว ญวน มอญ เป็นต้น

ในส่วนของบทละครพันทางที่นำมาใช้แสดงนั้นมักเป็นเรื่องที่มีอยู่เดิมแล้ว เช่น ขุนช้างขุนแผน ลิลิตพระลอ ราชาธิราช ดาหลัง เป็นต้น และมีเรื่องที่แต่งขึ้นใหม่ด้วย เช่น วงศ์เทวราช ยักษียักษา

บรรณานุกรม

วีณา วีสเพ็ญ. วรรณคดีการละคร. พิมพ์ครั้งที่ ๒. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์, ๒๕๔๙.